อยากมีแบรนด์อาหารเสริม ต้องเริ่มยังไง ฟังทางนี้!!
อยากมีแบรนด์อาหารเสริม ไม่ได้ยากอีกต่อไป เปิดโอกาสใหม่สำหรับคนที่มีฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจอาหารเสริม พิเศษสุดๆสำหรับคนมาร่วมกิจกรรม ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้น หรือเคยทำแบรนด์มาก่อน ก็ร่วมหาประสบการณ์ใหม่ได้ที่ งาน ThaiFex 2017 IMPACT CHALLENGER HALL 2 วันที่ 31 พ.ค.- 4 มิ.ย.60 (10:00-20:00 น.) บูธที่ DD72
พร้อมส่วนลดสุดพิเศษ (เฉพาะผู้มาร่วมงานเท่านั้น)
คำถาม – คำตอบ ที่พบบ่อยสำหรับคนอยากสร้างแบรนด์
คำถาม : อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ต้องใช้งบเท่าไหร่ ?
คำตอบ : ก่อนอื่นต้องศึกษาก่อนว่าคุณจะทำอาหารเสริมลักษณะไหน เป็นแบบแคปซูล แบบผง หรือแบบน้ำ? และต้องการทำเพื่ออะไร? เพราะต้นทุนต่อหน่วยการผลิตจะแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้ามีงบประมาณจำกัด คุณต้องทราบว่าการผลิตแบบน้ำ Functional Drink จะมีค่าใช้จ่ายสูงสุด ตามลงมาด้วยแบบแคปซูล และสุดท้ายคือแบบผงชงดื่ม แต่ถ้าคุณต้องการให้ได้คุณภาพสูงสุด แน่นอนว่าแบบ Functional Drink เห็นผลได้ดีสุด เพราะแบบน้ำจะสามารถดูดซึมในร่างกายได้ดีและเร็ว ทั้งยังทานง่ายกว่า
คำถาม : เทรนด์อาหารเสริมประเภทเครื่องดื่ม เป็นไปในทิศทางไหน ?
คำตอบ : ถ้าอิงตามผลการสำรวจของ EIC จะพบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จะลดความต้องการอาหารเสริมด้านความงามลงในปริมาณที่ชัดเจนตามอายุที่เพิ่มขึ้น และหันมาบริโภคอาหารเสริมสุขภาพขึ้นแทน เพราะตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่จะตามมา ซึ่ง เครื่องดื่ม Function Drink แบ่งเป็นดังนี้ beauty drink (เรื่องผิวพรรณ) , herbal drink (บำรุงระบบภายใน บำรุงสุขภาพ) , Sport Drink ( เกลือแร่ ชดเชยพลังงานที่เสียไป) , Energy Drink (วิตามิน กรดอะมิโน ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย) , Enriched Drink (คอลลาเจน โค คิวเท็น บำรุงผิวพรรณ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เผาพลาญไขมัน)
คำถาม : ขั้นต่ำในการผลิตต่อขวดเท่าไหร่?
คำตอบ : ปกติแบบ Functional Drink ขั้นต่ำจะอยู่ในหลักหมื่นขวด เช่น 20,000 ขวด 30,000 ขวด หรือ 50,000 ขวด โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงส่วนใหญ่โรงงานผลิตจะคำนึงถึงต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่เสียไปต่อหน่อยการผลิต รวมถึงยอดการสั่งซื้อ ถ้าลูกค้าต้องการผลิตในจำนวนน้อย และต่อรองราคาต่อขวดน้อยกว่ามาตรฐานอีก อันนี้โรงงานส่วนใหญ่ไม่รับทำ เพราะต้นทุน (รวมค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่นค่าทดลอง ค่าน้ำ ค่าไฟในการเดินเครื่อง) กับกำไรที่ได้ไม่แตกต่างกัน ซึ่งนับว่าไม่คุ้ม นอกเสียจากโรงงานต้องการฐานลูกค้าเพิ่ม อาจจะทำข้อตกลงใน lot แรกของการผลิต และคาดการณ์แล้วว่าจะมีการสั่งผลิตซ้ำในครั้งถัดไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นขั้นต่ำต่อการผลิตขึ้นอยู่กับราคาต่อหน่วยการผลิตด้วย
คำถาม : เพิ่งเริ่มทำแบรนด์อาหารเสริม ควรจะทำยังไงให้ขายดี และต้องทำการตลาดอย่างไรจึงจะได้ผลสูงสุด
คำตอบ : นับเป็นคำถามยอดฮิตที่ได้ยินบ่อย ก่อนอื่นคุณต้องกำหนดเป้าหมายให้ได้ก่อนว่า จะเน้นทำตลาดกลุ่มไหน (Target ) เช่นกลุ่มนักศึกษา กลุ่มคนทำงาน กลุ่มคนรักสุขภาพ เป็นต้น เพราะการทำตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเราเสมอ ถ้าจะเน้นขายกลุ่มนักเรียน แต่กำหนดราคาต่อหน่อยแพงมาก เขาจะมีกำลังซื้อมั้ย? อันนี้ไม่ได้หมายถึงคุณมาผิดทาง แต่นั้นหมายถึงคุณต้องลงทุนโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ให้ข้อมูล เป็นอย่างหนัก เพื่อตอกย้ำการรับรู้ ซึ่งค่อนข้างทำยาก ทั้งนี้แนะนำว่าการตั้งราคาขายต้องอย่าลืมวิเคราะห์คู่แข่งเสมอ ยิ่งเป็นคู่แข่งที่เป็นสินค้าใกล้เคียงกัน ถ้าคิดจะไปวางสินค้าใน location ที่คู่แข่งวางอยู่ เราจะไปตั้งราคาแพงกว่าเขาหรือเท่ากับเขาดี? อันนี้ต้องดูเรื่องคุณภาพสินค้า และต้นทุน ถ้ามั่นใจว่าของเราดีกว่า ก็อาจวางราคาให้สูงกว่า และเน้นทำโฆษณา ให้ข้อมูลสินค้า มีรีวิว โปรโมททุกช่องทาง เพื่อเจาะกลุ่ม high ขึ้นไป
คำถาม : จะรู้ได้ยังไงว่าโรงงานไหนผลิตดี ไม่ดี ? แล้วเขาหลอกหรือไม่?
คำตอบ : ง่ายๆเลย ศึกษาข้อมูลให้เยอะที่สุดก่อน เริ่มต้นจากค้นหาใน Google ถ้าติดในหน้าแรกๆ แปลว่าคนค้นหาและกดเข้าไปดูบ่อย จากนั้นดูข้อมูลในเว็บไซต์ ว่ามีการอัพเดตอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ไม่ใช่ว่าให้ข้อมูลไว้ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้วไม่เคยอัพเดตอีก อันนี้ก็ไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ จากนั้นดูเรื่องมาตรฐานต่างๆที่โรงงานได้รับ เช่น GMP , HACCAP, ISO , ฮาลาล เป็นต้น และดูประวัติบริษัทว่าทำมานานกี่ปี มีทีมงานมากประสบการณ์เป็นผู้ควบคุมหรือไม่ จากนั้นค่อยหาช่องทางติดต่อบริษัท เช่นคุยในไลน์ โทรหาเจ้าหน้าที่ หรืออีเมลสอบถาม (ควรดู Feedback การติดต่อกลับด้วยว่ามีบริการดีมากน้อยแค่ไหน )
คำถาม : กระบวนการดำเนินงาน ต้องมีอะไรบ้าง?
คำตอบ :
1. ตกลงเรื่องขั้นต่ำการผลิต ราคาต่อหน่วย
2. ตกลงเรื่องส่วนผสม การปรับสูตร ระยะเวลาการผลิตและส่งมอบสินค้า
3. จ่ายมัดจำค่า อย. ทางทีมงานจะพัฒนาสูตรมาให้ทดลอง ช่วงนี้สามารถปรับสูตรตามต้องการได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่ อย.กำหนด
4. เมื่อโอเคกับสูตร ก็ทำการจ่ายเงิน เพื่อเริ่มการผลิต (ขึ้นอยู่กับข้อตกลง ส่วนใหญ่ จ่ายก่อน 50% ของยอดการสั่งผลิต)
5. ตั้งแต่ข้อที่ 3-4 ควรดำเนินการเรื่องกล่องแพ็จเกจจิ้ง และส่งแบบมาให้โรงงาน เพื่อเช็คว่าเป็นไปตาม อย.กำหนดหรือไม่
6. ตรวจเช็คความถูกต้อง เช่นเรื่อง อย. , สูตร , กล่องบรรจุภัณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามที่ตกลงกันหรือไม่
7. ส่งมอบสินค้า และจ่ายเงินในส่วนที่เหลือ ตามข้อตกลง (50%)
*** ข้อมูลเบื้องต้นนี้ ขึ้นอยู่กับโรงงานกำหนด
Leave A Comment