5 สมุนไพรไทย บอกลา ” โรคความดันโลหิตสูง “
โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนับไม่ถ้วน นอกจากจะมาแบบเงียบแล้ว ยังเป็นตัวเสริมให้เกิดโรคอื่นๆได้ง่ายขึ้นด้วย เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง หลอดเลือดตีบตัน แต่เชื่อหรือไม่?? หลายคนมารู้ตัวอีกที ก็มักสายไปแล้ว เรื่องค่ายารักษาคงไม่ต้องพูดถึง….แล้วจะดีกว่ามั้ย? ถ้าคุณเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนนี้
สมุนไพรไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นยาแผนโบราณที่ช่วยรักษาโรคต่างๆได้ดีไม่แพ้ยาแผนปัจจุบัน และด้วยสรรพคุณจากพืชธรรมชาติ ที่ถูกค้นพบโดยคนสมัยก่อน ตั้งแต่ทางการแพทย์ยังไม่พัฒนา ซึ่งนับว่าช่วยป้องกันความเสี่ยงและรักษาบางโรคได้จริงอย่างไม่น่าเชื่อ วันนี้เรามี 5 สมุนไพรไทย มาแนะนำเพื่อนๆ เพื่อบอกลา โรคความดันโลหิตสูงกันคะ
- บัวบก
หลายคนอาจเคยดื่มน้ำใบบัวบก ที่เมื่อดื่มเข้าไปแล้วช่วยแก้ร้อนใน แก้ช้ำใน ลดการกระหายน้ำได้ดีนักแล ซึ่งนอกจากใบบัวบกจะนำมาคั้นน้ำดื่มได้แล้ว ยังสามารถนำไปทาแผล ช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำของแผลได้ด้วย และมีฤทธิ์สมานแผน ไม่ว่าจะเป็นแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแผลหลังผ่าตัด ใบบัวบกจะช่วยการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น แต่ที่หลายคนยังไม่รู้คือ บัวบก เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากบัวบกทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ - มะรุม
พืชสมุนไพรสุดแสนมหัศจรรย์ ใช้รักษาได้สารพัดโรค เช่นแก้อาการบวม ใช้ประคบแก้โรคปวดหลัง ปวดข้อ รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส ทั้งยังมีแคลเซียม วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ใช้แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ และช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ นอกจากนี้ มะรุม ยังนับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยพบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B -
คื่นไฉ่
หรือที่เรียกว่า ผักข้าวปืน ผักปืน โดยส่วนราก มีสรรพคุณช่วยแก้จุกเสียด ขับปัสสาวะ ส่วนของต้นคื่นไฉ่ ช่วยขับระดู ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ แก้อาเจียน ขับลม ส่วนใบ ช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง แก้ตกเลือด และส่วนของเมล็ด ช่วยในการขับลม ขับระดู ขับปัสสาวะ ยาบำรุงหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหืด นอกจากนี้ชาวเอเชียยังนิยมใช้คึ่นไฉ่เป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า 2000 ปีแล้ว ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานคึ่นไฉ่วันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ และมีการศึกษาวิจัยคื่นไฉ่กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าคื่นไฉ่มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต คุมกำเนิด ยับยั้งมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้จริงอีกด้วย
4. กระเจี๊ยบแดง
เนื่องจากในกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโธไซยานิน (anthocyanins) ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะไปช่วยเสริมสร้างให้หลอดเลือดแข็งแรง ใบกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แก้ไอ ละลายเสมหะ ส่วนดอกใช้แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด แต่ส่วนที่มีสรรพคุณมากเป็นพิเศษก็คือ ส่วนกลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล สามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ลดความดันโลหิต
5. ใบกระเพรา
มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น และใบกระเพรา ยังมีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันและเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกระเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
หมายเหตุ : ปกติความดันของคนปกติจะอยู่ราว 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นควรรับประทานผัก ผลไม้และพืชสมุนไพรให้มาก เพราะมีโพแทสเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต วันละ 4.7 กรัมต่อวันได้
Leave A Comment