อันตรายจากโรค “ไขมันในเส้นเลือดสูง” ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม..

ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือคอเลสเตอรอลสูง เป็นภาวะที่สามารถพบเจอได้ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไปเป็นเวลานาน วันนี้ โอเค เฮิร์บ จึงมีข้อมูลดี ๆ มาให้ทุกคนทำความรู้จักกับโรคไขมันในเส้นเลือดสูงและอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นไขมันในเลือดสูงกันค่ะ

 

โรคไขมันในเส้นเลือดสูง (Dyslipidemia) เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภค หรืออีกปัจจัยคือเกิดมาจากพันธุกรรม ในยุคสมัยที่คนส่วนใหญ่นิยมความรวดเร็วในการดำเนินชีวิต อาหารก็เช่นกัน ทำให้การระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหารลดลง โดยเฉพาะกระแสการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast food) หรืออาหารขยะมาแรง คนไทยยิ่งมีอัตราการเป็นโรคไขมันในเลือดสูงตามมา เฉพาะไขมันในเส้นเลือดสูงอาจดูไม่ใช่เรื่องอันตรายอะไร แต่จริงๆ แล้วไขมันที่ไปเกาะตามหลอดเลือดเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

  1. ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  2. คนที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  4. คนที่รับประทานอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
  5. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ  โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  6. ความเครียด เป็นตัวกระตุ้นให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลมากขึ้น

ไขมันในเลือดที่สำคัญ

  • ไตรกลีเซอร์ไรด์ ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองจาก น้ำตาล แป้ง แอลกอฮอล์ และส่วนหนึ่งได้รับจากอาหารที่รับประทานมาก สามารถทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
  • โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แหล่งโคเลสเตอรอลในอาหารพบมากใน ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม เครื่องในสัตว์ นม เนย

อาหารที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันสัตว์  เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังเป็ดพะโล้ ก้นไก่ ก้นเป็ด มันไก่ หากจะรับประทานไก่ ให้เลือกส่วนอก และควรลอกหนังออก ใช้เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย คือ ปลา และไก่ไม่ติดหนัง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง  เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต มันสมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน สำหรับเครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย จำกัดครั้งละ 2-3 ชิ้น
  • ลดอาหารที่เติมน้ำตาล ทั้งขณะปรุงประกอบอาหาร หรือเติมขณะกินอาหาร ขนมหวานจัด เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง
  • เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับ     ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (หากเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มไม่เกิน 1 ดริ้งต่อวัน ได้แก่ เบียร์ 1 กระป๋อง หรือเหล้า 45มิลลิลิตร หรือ ไวน์ 150 มิลลิลิตร)
  • เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลานึ่งกับผัก ปลาย่าง มะเขือเผา อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย แทน อาหารผัดน้ำมันนองจาน อาหารทอดอบน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด
  • เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  • เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ (นมพร่องมันเนย) แทนนมสดครบส่วน